- ประวัติความเป็นมา
ประวัติ ความเป็นมา วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย
วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย เดิมมีชื่อว่า วิทยาลัยเทคนิคระยอง แห่งที่ 2 ตั้งอยู่เลขที่ 11 หมู่ 11 ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง รหัสไปรษณีย์ 21120 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ความเป็นมา
เดิมพื้นที่ตั้งวิทยาลัยฯ เป็นพื้นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีพื้นที่รวม 202 ไร่ มอบให้วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย ครอบครองเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการจัดการเรียนการสอนประมาณ 100 ไร่ ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย (วิทยาลัยเทคนิคระยอง แห่งที่ 2) ขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2540 พร้อมทั้งอนุมัติให้ เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2541 จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาช่างก่อสร้าง และสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
ลักษณะชุมชน
ลักษณะชุมชนที่วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย ตั้งอยู่ ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ห่างจากจังหวัดระยอง ระยะทาง 25 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 190 กิโลเมตร สถานประกอบการที่อยู่ใกล้วิทยาลัยฯ มีหลายแห่ง เช่น นิคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย นิคมอุตสาหกรรม อิสเทรินซีบอร์ด นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ซึ่งนิคมต่างอยู่ในเขตอำเภอปลวกแดง และอำเภอบ้านค่าย ซึ่งมีพื้นที่ห่างจากวิทยาลัยฯ ไม่มากนัก ระยะทางประมาณ 5 - 30 กิโลเมตรทำให้สะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน โดยร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการเป็นอย่างดี
การจัดการศึกษา
การดำเนินงานในปัจจุบัน ระดับการศึกษา และประเภทวิชาที่เปิดสอน
ปี 2541 เปิดสอน ระดับปวช. ระบบปกติ จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาช่างก่อสร้าง และสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
ปี 2542 เปิดสอน ระดับปวช. ระบบทวิภาคี จำนวน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุง และสาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ปี 2543 กรมอาชีวศึกษา ได้มีนโยบายให้วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย เปิดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบร้อยเปอร์เซ็น และวิทยาลัยได้เปลี่ยนวิชาช่างกลโรงงาน (ปวช.2) เป็นสาขาวิชา
เครื่องมอกลและซ่อมบำรุง ระบบทวิภาคี
ปี 2544 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนระดับ ปวช. เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และเปิดสอนระดับ ปวส. คือ สาชาวิชาช่างเทคนิคการผลิต(กลุ่มเครื่องมือกล) และสาขาเทคนิคเครื่องกลเรือ
ปี 2545 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนนักศึกษา ระดับ ปวส. (DVT) เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ โดยจัดการเรียนการสอนร่วมกับ บริษัท ไดสตาร์คอปเปอร์เรชั่น จำกัด
ปี 2546 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนนักศึกษา ระดับ ปวส. (DVT) เพิ่มอีก 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาช่างก่อสร้าง
ปี 2547 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนนักศึกษา ระดับ ปวส. (DVT) เพิ่มอีก 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม
ร่วมกับ บริษัท ยูนิตี้ อินดัสเตรียล จำกัด
ปี 2549 วิทยาลัยฯ ได้เปิดหลักสูตรเทียบโอนประสบการณ์สำหรับผู้ประกอบอาชีพเพื่อเข้าสู่การได้วุฒิ ปวช. หรือ ปวส. ซึ่งได้ทำความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงงานจังหวัดระยองกับ
กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม บริษัท โตไก บริษัทเสม็ดรีสอร์ท บริษัทอิเล็กทรอลักซ์ บริษัทไทยออโต้เพรสพาร์ท
ปี 2550 - 2551 วิทยาลัยฯ ได้จัดทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ 2 สาขา คือ สาขาเทคโนโลยีการผลิต และสาขา
เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
ปี 2552 - 2553 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนตามหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเครื่องกล (ยานยนต์)
ปี 2556 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนตามหลักสูตรสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมีการปรับปรุงหลักสูตร พุทธศักราช 2556 ดังนี้
1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พ.ศ.2556
ประเภทวิชา |
สาขาวิชา |
สาขางาน |
อุตสาหกรรม |
สาขาวิชาช่างยนต์ |
สาขางานยานยนต์ |
สาขาวิชาช่างกลโรงงาน |
สาขางานเครื่องมือกล |
|
|
สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุง |
สาขางานซ่อมบำรุงอุตสาหกรรม |
สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ |
สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ |
|
ประเภทวิชา |
สาขาวิชา |
สาขางาน |
|
สาขาวิชาช่างก่อสร้าง |
สาขางานก่อสร้าง |
พณิชยกรรม |
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว |
สาขาวิชาการโรงแรม |
สาขางานการโรงแรม |
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ.2546
ประเภทวิชา |
สาขาวิชา |
สาขางาน |
อุตสาหกรรม |
สาขาวิชาเครื่องกล |
สาขางานยานยนต์ |
สาขาวิชาเครื่องกล |
สาขางานเครื่องมือกล |
|
|
สาขาวิชาเทคนิคการผลิต |
สาขางานซ่อมบำรุงอุตสาหกรรม |
สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ |
สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ |
|
สาขาวิชาช่างก่อสร้าง |
สาขางานก่อสร้าง |
|
พณิชยกรรม |
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
|
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ |
สาขางานการจัดการขนส่งสินค้า |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว |
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ |
สาขางานการบริการอาหารและเครื่องดื่ม |
3. การจัดการเรียนสอนรูปแบบเทียบโอนประสบการณ์วิชาชีพ เปิดสอนในระดับ ปวส. จำนวน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง เทคนิคยานยนต์ และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
4. จัดการศึกษานอกระบบ จัดทำหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น จัดทำหลักสูตร ปวช. คู่ขนาน กับโรงเรียนมัธยมเครือข่าย จำนวน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนมัธยมตากสิน และโรงเรียนนิคมวิทยา ซึ่งในปีการศึกษา 2556 เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการโรงแรม และ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
ปี 2557 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอน ระดับ ปวช. เพิ่มอีก 1 สาขางาน คือ สาขางานชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับ ปวส. เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และได้เปิดหลักสูตร ปวช. คู่ขนาน เพิ่ม อีก 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุง และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ปี 2558 วิทยาลัยฯ ได้เปลี่ยนหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนดังนี้
1. เปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนในหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2546 เป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ.2557
2. เปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร ปวช. คู่ขนาน เป็นการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ ทวิศึกษา โดยเปิดการสอน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการโรงแรม สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุง และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
3. เปิดการสอนรูปแบบเทียบโอนประสบการณ์วิชาชีพ ระดับ ปวส. จำนวน 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์
ปี 2559 วิทยาลัยฯ ได้เปิดการสอนระดับปวช.เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
ปี 2561 วิทยาลัยฯ ได้เปิดการสอนระดับปวช. เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ
ปี 2562 วิทยาลัยฯ ได้เปิดการสอนระดับปวช. เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี และ เปิดสาขาวิชาระดับ ปวส. เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก
ปี 2563 วิทยาลัยฯ ได้เปิดการสอนระดับปวช. เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
ปี 2565 วิทยาลัยฯ ได้เปิดการสอนระดับปวส. เพิ่ม 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ และหุ่นยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปี 2566 วิทยาลัยฯ ได้เปิดการเรียนการสอนระดับ ปวส. เพิ่ม 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการตลาดสาขาวิชาการบัญชี และได้มีการเปิดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทวิวุฒิ สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และเปิดหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีบัณฑิต อิเล็กทรอนิกส์ 1 สาขาวิชา
ข้อมูลด้านหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน ปีงบประมาณ พ.ศ.2568
ปัจจุบันวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่ายร่วมกับสถานประกอบการ มุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทวิภาคีให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการอาชีวศึกษาและกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพกำลังคน ระดับช่างฝีมือ และระดับช่างเทคนิค ให้มีคุณภาพตามสมรรถนะอาชีพอย่างมีคุณภาพและศักยภาพนำไปสู่การพัฒนาประเทศในสาขาวิชากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามหลักสูตร ภาคเรียนที่ 2/2567 และภาคเรียนที่ 1/2568 ดังนี้
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 12 สาขาวิชา
ลำดับ |
ประเภทวิชา |
กลุ่มอาชีพ |
สาขาวิชา |
1 |
อุตสาหกรรม |
1. เครื่องกลและยานยนต์ |
1. ช่างยนต์ |
|
|
2. อุตสาหกรรมการผลิต |
2. ช่างกลโรงงาน 3. ช่างซ่อมบำรุง 4. ช่างเชื่อมโลหะ |
|
|
3. พลังงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
5. ไฟฟ้า 6. อิเล็กทรอนิกส์ |
|
|
4. อุตสาหกรรมก่อสร้าง |
7. ช่างก่อสร้าง |
2 |
บริหารธุรกิจ |
5. การเงินและบัญชี |
8. การบัญชี |
|
|
6. การตลาด |
9. ธุรกิจค้าปลีก |
3 |
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว |
7. การโรงแรม |
10. การโรงแรม |
4 |
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ |
8. โลจิสติกส์ |
11. โลจิสติกส์ |
5 |
อุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสื่อสาร |
9. ธุรกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
12. เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล |
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 14 สาขาวิชา
ลำดับ |
ประเภทวิชา |
กลุ่มอาชีพ |
สาขาวิชา |
1 |
อุตสาหกรรม |
1. เครื่องกลและยานยนต์ |
1. เทคนิคเครื่องกล |
|
|
2. อุตสาหกรรมการผลิต |
2. เทคนิคการผลิต 3. เทคนิคอุตสาหกรรม |
|
|
3. พลังงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
4. ไฟฟ้า 5. เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ |
|
|
4. เมคคาทรอนิกส์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ |
6. เมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ |
|
|
5. ก่อสร้าง |
7. ช่างก่อสร้าง |
2 |
บริหารธุรกิจ |
6. การเงินและบัญชี |
8. การบัญชี |
|
|
7. การตลาด |
9. การตลาด |
3 |
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว |
8. การโรงแรม |
10. การโรงแรม |
4 |
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ |
9. โลจิสติกส์
|
11. การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน |
|
|
10. พาณิชยนาวี |
12. เทคนิคเครื่องกลเรือ |
5 |
อุตสาหกรรมดิจิทัลและ เทคโนโลยีสื่อสาร
|
11. ซอพแวร์และการประยุกต์ |
13. เทคโนโลยีสารสนเทศ |
|
10. ธุรกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
14. เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล |
หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ จำนวน 1 สาขาวิชา
ลำดับ |
หลักสูตร |
สาขาวิชา |
1 |
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต |
สาขาวิชาเทคโนโลยีบัณฑิตอิเล็กทรอนิกส์ |
KMe : ออกแบบและรับผิดชอบโดย งานศูนย์ข้อมูล วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย